น้ำมันเครื่องรถยนต์นั้น สำคัญไฉน
น้ำมัน เครื่องยุคใหม่นั้น ออกแบบเพื่อผลิตขึ้นมาด้วยทัศนวิสัยกว้างไกลและรอบคอบ ไม่ผิดอะไรกับเครื่องยนต์ที่คุณจะนำน้ำมันนั้นมาใช้งานร่วมกันหรอกครับ
ผู้ ออกแบบน้ำมันเครื่อง นักเคมีวิทยา หรือวิศวกรน้ำมัน ผู้กำหนดคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องจะต้องวางระดับคุณสมบัติในการหล่อลื่นของ น้ำมันบนพื้นฐานการทำงานอย่างกว้างขวางของเครื่องยนต์ด้วยพื้นฐานเช่นนี้ เมื่อนำมาควบรวมกันกับความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการหล่อลื่นของน้ำมัน แล้ว ก็จะทำให้ผู้ออกแบบสามารถกำหนดหรือสร้างน้ำมันเครื่องออกมาให้มีคุณสมบัติใน การทำงาน เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่กำหนดเอาไว้ได้
คุณสมบัติอย่าง หนึ่งที่สำคัญในการเป็นน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ก็คือการหล่อลื่น การหล่อลื่นนั้นผู้ใช้รถยนต์ในประเทศหรือช่างยนต์ของเราทั้งหลายทั้งปวงจะ คิดอย่างไรก็แล้วแต่ ผมอยากจะบอกว่าไม่ใช่แค่การหล่อลื่นแบบที่ท่านคิดกันนะครับ หากแต่ภายในเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยชิ้นส่วนเคลื่อนไหวอยู่หลายชิ้น และแต่ละชิ้นจะต้องได้รับการป้องกันการสัมผัสโดยตรงด้วยฟิล์มของน้ำมันหล่อ ลื่น การหล่อลื่นที่คุณคิดว่าสำคัญนั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเรื่องของฟิล์มที่จะป้องกันการสัมผัสโดยตรงของแต่ละชิ้น ส่วนเท่านั้นต่างหาก
ถ้าไม่มีน้ำมันหล่อลื่น ชิ้นส่วนเหล่านั้นก็จะสัมผัสกันและก่อให้เกิดการสึกหรอได้ทันที ดังนั้นน้ำมันเครื่องยุคใหม่จึงออกแบบมาให้สามารถป้องกันการสึกหรอของชิ้น ส่วนเครื่องยนต์ได้โดยการสร้างให้เกิดเนื้อฟิล์มที่หนาพอและแข็งแรงเพียงพอ ที่จะแยกชิ้นส่วนแต่ละชิ้นออกจากกัน ในเวลาเดียวกัน น้ำมันเครื่องก็ต้องได้รับการออกแบบให้สามารถลดความฝืดระหว่างชิ้นส่วนของ เครื่องยนต์ลงด้วย ความฝืดนั้นเป็นผลมาจากแรงต่อต้านการเคลื่อนที่ของแต่ละชิ้นส่วน ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมาเครื่องยนต์ได้รับการออกแบบโดยมุ่งให้ลดความฝืดภาย ในของเครื่องยนต์ลง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ขึ้น
และ ในทางเดียวกัน น้ำมันเครื่องยนต์ก็เข้ามาเป็นตัวละครสำคัญในการสร้างและคงความเป็นเนื้อ ฟิล์มอันแข็งแรงเพื่อป้องกันการสัมผัสกันของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น และพร้อมกันไปนั้นระดับความข้นใสอันพอเหมาะของน้ำมันเครื่องก็จะช่วยเป็น ส่วนประกอบให้การหล่อลื่นไหลเวียนไป ตามชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อลดความฝืดลงระหว่างจักรกลกับน้ำมันเครื่องเอง
ปัจจุบันน้ำมัน เครื่องทำงานมากกว่าให้ฟิล์มป้องกันการสัมผัสกันของชิ้นส่วนและลดความฝืดของ จักรกล เครื่องยนต์สร้างความร้อนขึ้นได้มากมายในระหว่างการทำงาน รวมถึงความร้อนอันเกิดจากการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนที่วางอยู่ในตำแหน่งใกล้ ชิดกันมากๆ และในระหว่างเกิดการ เผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่องก็จะเข้ามาทำหน้าที่เหมือนกับน้ำระบายความร้อนในการนำเอาความ ร้อนออกไปจากชิ้นส่วนของเครื่องยนต์นั้นเสีย
ตัวอย่างเช่นน้ำมัน เครื่องจะเอาความร้อนออกไปจากความฝืดของแบริ่ง หรือที่เราเรียกกันว่าชาฟต์ของเพลาข้อเหวี่ยง หรือเพลาใดๆ ก็ตาม หรือจากแหวนลูกสูบและจากการทำงานของลูกสูบรวมไปถึงจักรกลของวาล์วที่ร้อน ขึ้นระหว่างการทำงานของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องมีหน้าที่ต้องลดความร้อนของชิ้นส่วนนั้นๆ ลงด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากความสึกหรอ ความร้อน และความฝืดแล้ว
สิ่ง สกปรกสะสมในเครื่องยนต์ เช่น สนิม ตะกอน เศษเขม่า และโคลนเลนจากน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นเองก็ล้วนแล้วแต่มีส่วนในการบั่น ทอนอายุของเครื่องยนต์ลงด้วยกันทั้งนั้น และก็เป็นหน้าที่ของน้ำมันเครื่องยุคใหม่ในการช่วยกำจัดหรือจำกัดสิ่งเหล่า นั้น ไม่ใช่ไม่ให้เกิดขึ้น ด้วยว่าเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องยนต์อยู่แล้ว หากแต่จำกัดและช่วยขจัดความสกปรกหรือความไม่เป็นที่ต้องการของสิ่งเหล่านั้น ออกจากการทำงานของเครื่องยนต์เสียในทันที
หากคุณเป็นช่างยนต์มาสัก 20 ปี คุณจะสังเกตได้จากการเปิดฝาวาล์วของเครื่องยนต์ขึ้นมาเมื่อ 20 กว่าปีก่อน และต้องพบกับโคลนหรือเขม่าเหลวๆ ที่จับอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เทียบกับปัจจุบันที่เมื่อเปิดฝาวาล์วขึ้นมาแล้วจะพบเห็นแต่ชิ้นส่วนเครื่อง ยนต์ที่บอกได้ว่าสะอาดเอี่ยมอยู่ข้างหน้า นั่นก็เป็นพัฒนาการของน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันเครื่องที่นำพาเอาโคลนหรือ เขม่าเหล่านี้ออกไปจากชิ้นส่วนของเครื่องยนต์นั่นเอง
และไม่ใช่เพียง แต่จะต้องเป็นมิตรกับซีลยางหรือปะเก็นต่างๆ ของเครื่องยนต์เท่านั้นนะครับ น้ำมันเครื่องยังต้องทำหน้าที่เป็นซีลโดยตัวเองอีกด้วย และน้ำมันเครื่องนี่แหละครับที่ทำตัวเป็นซีลกันการรั่วของแรงดันเสริมให้กับ แหวนลูกสูบและผนังกระบอกสูบในขั้นสุดท้าย
เมื่อคุณได้ทราบคุณสมบัติ ที่ต้องการของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์แล้ว คุณก็คงจะเห็นชัดว่าทุกวันนี้น้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันเครื่องนั้นจะต้องการ คุณสมบัติระดับใด และด้วยราคาเพียงไม่กี่ร้อยบาท เทียบได้หรือไม่กับคุณสมบัติลึกล้ำที่คุณจะได้รับจากการซื้อน้ำมันเครื่อง แท้มาใช้งาน
คอลัมน์ เก็บตกเทคโนโลยี
โดย ธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น