นอกจากผู้ใช้รถจะต้องมีการบำรุงรักษารถยนต์ด้วยตัวเอง และนำรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการ เพื่อบำรุงรักษาตามระยะแล้ว ผู้ใช้รถควรจะต้องใช้รถอย่างถูกวิธี มิฉะนั้นรถยนต์อาจชำรุดเสียหายเร็วกว่าที่ควรจะเป็น หรืออาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนต่างๆของรถยนต์ก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด ในครั้งนี้จะเป็นเรื่องเกียวกับวิธีถนอมและยืดอายุใช้งานแอร์รถยนต์แบบไม่ยุ่งยาก
1 วิธีการดูแลเบื้องต้น
รถยนต์สมัยใหม่แทบไม่ต้องวุ่นวายมาก เพียงดูจุดเล็ก ๆ สามารถยืดอายุการใช้งานได้ เช่น ไม่ปรับตำแหน่งของเทอร์โมสตรัทไปที่ Cool อยู่ตลอดเวลา จะช่วยถนอมคอมเพรสเซอร์ไม่ให้ทำงานหนักตลอดเวลา หรือไม่เปิดกระจกเมื่อเปิดแอร์ เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก ต่อมาอาจใช้วิธีปิดการทำงานของคอมแอร์ แต่ยังเปิดพัดลมอยู่ ก่อนที่จะจอดรถ อย่างน้อยประมาณ 5 นาที ช่วยยืดอายุการใช้งานของอีแวปพอเรเตอร์ได้ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
2 เราจะต้องล้างตู้แอร์เมื่อไหร่
ถามมาว่าใช้ใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวตัดสิน ถึงจะล้างทำความสะอาดตู้แอร์สักครั้ง จะใช้เงื่อนไขของเวลา หรือระยะทางดี เพราะรถยนต์แต่ละคันมันก็ผ่านการใช้งานต่างกัน รถยนต์บางคันใช้งานมาแค่ปีเดียว แต่ก็ต้องวิ่งเป็นระยะทางกว่า 100,000 กม. ขณะบางคันอาจใช้งานแค่ 10,000 กม. ก็มีให้เห็นเช่นกัน ดังนั้นอาจบอกไม่ได้เฉพาะเจาะจงสำหรับรถยนต์แต่ละคัน ทางผู้ผลิตจึงแนะนำโดยใช้วิธีการเฉลี่ย โดยทำการล้างตู้แอร์ประมาณทุก ๆ 1 ปี หรือราว ๆ 20,000 กม. ก็ได้เหมือนกัน นอกจากการล้างตู้แอร์แล้ว ทางผู้ผลิตยังแนะนำให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ด้วยพร้อมกันเลย แน่นอนแบบนี้จะต้องปล่อยสารทำความเย็นเก่าออกให้หมดก่อน และถึงจะสามารถถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ได้
3 วาล์วแอร์จะเปลี่ยนตอนไหนถึงจะเหมาะ
ไม่มีอะไรที่บอกได้แบบเฉพาะเจาะจงว่าต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนเมื่อไหร่ เพราะอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วผู้ผลิตแนะนำเอาไว้ที่ระยะทางประมาณ 50,000 กม. หรือเป็นเวลาประมาณ 2 ปีเศษโดยเฉพาะเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว หากมีปัญหาระบบปรับอากาศรถยนต์จะมีปัญหามาก บางทีการฉีดสารทำความเย็นอาจเกิดการผิดพลาดได้ นอกจากสาเหตุสำคัญที่มันมักจะเสียหาย เช่น การอุดตัน บางครั้งการล้าตัวของสปริงภายในตัววาล์ว หลังผ่านการใช้งาน หรือชิ้นส่วนไม่ได้มาตรฐาน จะก่อให้เกิดปัญหาตามมา แนะนำให้เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดอายุการใช้งาน แม้การทำงานยังปรกติ แต่ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ภายหลัง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ไปเลยครับ อย่าฝืนใช้ เพราะถ้าหากมันงอแงขึ้นมาก็ต้องเสียเวลาในการถอดเปลี่ยน
4 ดรายเออร์ต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่
อุปกรณ์สำคัญอย่างรีซีฟเวอร์ดรายเออร์จะมีอายุการใช้งานที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ทางผู้ผลิตแนะนำให้เปลี่ยนทุก ๆ ระยะทางราว 30,000 กม. เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้เมื่อเริ่มการใช้งานมันก็จะเสื่อมลงเรื่อย ๆ ตลอดเวลา เพราะเป็นอุปกรณ์ที่คอยกรองสิ่งสกปรกในระบบปรับอากาศ โดยกรองสิ่งสกปรกที่ปะปนมาพร้อมกับสารทำความเย็นในระบบ นอกจากนั้นมันยังมีสารดูดความชื้นภายในตัวรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ สารดูดความชื้นมีทั้งแบบซิลิก้าเจล และโมบิลเจล ในระบบต่าง ๆ กัน โดยเจ้าสารดูดความชื้นนี้จะทำหน้าที่ดูดเอาความชื้นที่เกิดขึ้นในระบบ แล้วปะปนมากับสารทำความเย็นมาเก็บไว้ที่ตัวเอง ซึ่งสารดูดความชื้นมันก็มีวันที่จะถึงจุดอิ่มตัว
5 ล้างตู้แอร์วิธีไหนคุ้มค่าสุด ๆ
ตามหลักการถอดตู้แอร์ออกมาล้างย่อมสะอาดกว่า ส่วนการล้างแบบไม่ถอดนั้นจะสะดวกและประหยัดเวลากว่า หากกล่าวตามการใช้งานในชีวิตประจำวันมันขึ้นอยู่กับการดูแลของเจ้าของรถเองมากกว่าว่าคุณดูแลรถของคุณแล้วดูแลในส่วนของระบบปรับอากาศอย่างไร คือ ถ้าคุณดูแลรักษาตู้แอร์เป็นประจำล้างแอร์เป็นประจำอยู่แล้ว การล้างโดยไม่ถอดตู้ก็คงจะเพียงพอที่จะช่วยให้ตู้แอร์คุณมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นได้ ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่เต็มที่ได้ เพราะระยะเวลาทุก ๆ 20,000 กม. คราบสกปรกคงไม่มากนักที่การล้างแบบไม่ถอดจะทำความสะอาดได้อย่างหมดจด หากคุณไม่เคยดูแลมันเลยไม่เคยล้างเลย แล้วจู่ ๆ ตันขึ้นมาอย่างนี้ แน่นอนว่าคราบสิ่งสกปรกมันคงจะมีมาก ก็สมควรที่จะถอดมาล้างจะดีกว่า แล้วหากคิดว่าจะให้ความสำคัญกับมันหลังจากถอดมาล้างในครั้งนี้แล้ว ครั้งต่อ ๆ ไปก็ล้างแบบไม่ถอดก็ได้
ที่มาโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น