17 กุมภาพันธ์ 2553

อากาศร้อนมาแล้ว ควรดูแลรักษาหม้อน้ำ..(ระบบหล่อเย็น)

อากาศร้อนมาแล้ว ควรดูแลรักษาหม้อน้ำ..(ระบบหล่อเย็น)
หม้อน้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเรื่องยนต์ การระบายความร้อนรถยนต์โดย
ทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน จึงต้องมีการดูแลระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ถ้าขาดการดูแลแล้วจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง และเครื่องยนต์อาจเสียหายได้
ถ้าหากรถยนต์ขาดระดับน้ำที่เหมาะสมจะมีสัญญาณเตือนบริเวณหน้าปัดของรถ
ตรงบริเวณใกล้กับเรือนไมล์บอกความเร็ว จะมีเข็มบอกโดยใช้สัญลักษณ์เป็น C เท่ากับ Cool
คือเย็น และ H เท่ากับ Hot คือ ร้อน ระดับความร้อนของเครื่องยนต์ต้องได้รับการเติมน้ำในระดับที่ถูต้อง
เข็มวัดความร้อนอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H ระดับความร้อนของเครื่องยนต์ต้องได้รับการเติมน้ำในระดับที่ถูกต้อง
เข็มวัดความร้อนอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H
ถ้าขาดการดูแลระดับน้ำ ความร้อนจะขึ้นถึงตัว H หรือเลยขึ้นไป
ถ้าอยู่ในระดับนี้อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ จึงต้องรีบหาน้ำเติมโดยเร็ว

น้ำใช้ในการเติมหม้อน้ำ ใช้น้ำธรรมดาที่ใสไม่มีตะกอน เช่น น้ำประปาทั่วไป
ขอให้เป็นน้ำสะอาดเท่านั้น ระวังอันตราย ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด
เพราะจะได้รับอันตรายจากไอน้ำที่พุ่งออกมา

ขั้นตอนการเติมน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ การเติมน้ำในหม้อน้ำนั้นแบ่งได้ตามลักษณะของหม้อน้ำ คือ

1. หม้อน้ำที่ไม่มีหม้อพักน้ำสำรอง กรณีนี้จะเป็นรถรุ่นเก่า จะไม่มีหม้อพักน้ำสำรองให้เราดูระดับ
น้ำก็ต้องเปิดฝาหม้อน้ำโดยตรง และดูว่าระดับน้ำในหม้อน้ำนั้นลดลงหรือไม่
ถ้าลดลงก็เติมน้ำลงไปให้เต็มพอปิดฝาหม้อน้ำได้ อย่าให้น้ำล้นออกมามาก
ในกรณีนี้ต้องคอยเปิดดูระดับน้ำทุกวัน เพราะไม่มีหม้อพักน้ำสำรองให้

2. หม้อน้ำที่มีหม้อพักน้ำสำรองแต่ยังมีฝาปิดหม้อน้ำให้เติมอยู่ ระบบนี้เป็นระบบใช้กับรถรุ่นใหม่
กว่าข้อ 1 คือในส่วนของหม้อน้ำจะมีที่เก็บน้ำสำรองเป็นพลาสติกติดอยู่ข้างหม้อน้ำและมีสายต่อ
โยงถึงกัน ในระบบนี้ถ้าจะเติมในหม้อน้ำ ต้องเติมให้หม้อน้ำเต็มตามระดับที่เหมาะสมเสียก่อน
จึงเติมน้ำลงไปในหม้อน้ำสำรอง การเติมน้ำในหม้อน้ำพักน้ำสำรองต้องเติมตามจำนวนที่เหมาะสม
ห้ามเกินขีดที่กำหนดไว้ โดยจะกำหนดไว้คือ

MAX คือ จำนวนน้ำมากที่สุดอยู่ที่ระดับนี้ ห้ามเติมน้ำจนเกินระดับนี้โดยเด็ดขาด
MIN คือ จำนวนน้ำมีน้อยต้องเติมให้อยู่ในระดับ MAX

หม้อน้ำที่มีห้องพักน้ำสำรองจะมีส่วนดีคือ น้ำที่เติมลงไปจะสุญเสียน้อย คือเมื่อได้รับความร้อน
กลายเป็นไอ ก็จะถูกดันให้มารวมตัวเป็นหยดน้ำที่หม้อพักน้ำนี้ และเมื่อในหม้อพักน้ำนี้เครื่อง
เย็นลงก็จะทำการระบายความร้อนต่อไป ถ้ารถมีหม้อน้ำสำรองก็สามารถช่วยประหยัดเวลาใน
การดูแลระดับน้ำในหม้อน้ำได้ การตรวจเช็กระดับน้ำไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นประจำ
อาจตรวจเช็กประมาณ 15-30 วันต่อครั้ง เมื่อระดับน้ำลดลงก็เติมน้ำลงไปให้เหมาะสม

3. หม้อน้ำที่มีหม้อพักน้ำสำรอง แต่ไม่มีฝาเติมน้ำโดยตรงจากหม้อน้ำ
เป็นระบบใหม่ที่ใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ โดยการเติมน้ำในหม้อน้ำจะเติมได้ทางเดียวคือบริเวณหม้อ
พักน้ำสำรองจะไม่มีการเติมผ่านหม้อน้ำโดยตรง
การดูแลระดับน้ำนั้นเป็นวิธีเดียวกับการเติมน้ำในหม้อน้ำตามแบบที่ 2 แทนที่จะต้องเติมน้ำที่
หม้อน้ำด้วยก็ไม่ต้องเพราะสามารถเติมผ่านหม้อพักน้ำสำรองได้เลย
การดูแลระดับน้ำก็เช่นกันไม่ต้องดูแลบ่อย ประมาณ 15-30 วันจึงค่อยตรวจเช็ก

ในเรื่องของน้ำยากันสนิมหม้อน้ำกับน้ำยาทำความเย็นหม้อน้ำเป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจว่า
ต้องการหรือไม่ แต่ส่วนที่น่าสนใจคือ น้ำยากันสนิม เพราะภายในหม้อน้ำเป็นโลหะ
ซึ่งสามารถเกิดสนิมได้ ถ้าเติมน้ำยากันสนิมอาจจะช่วยยืดอายุการใช้งานของหม้อน้ำและ
เครื่องยนต์ได้ ส่วนใช้ยี่ห้ออะไรนั้นต้องตัดสินใจกันอีกที
เพราะคุณภาพในการทำงานก็ใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่ราคา

สำหรับการถ่ายน้ำในหม้อน้ำนั้นก็เป็นไปตามระยะเวลาในคู่มือรถที่ให้มา
ถ้าไม่มีการเกิดสนิมการถ่ายน้ำก็ยืดเวลานานขึ้น แต่ถ้าเป็นสนิมก็ต้องเร็วขึ้นเช่นกัน


วิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
น้ำในระบบหล่อเย็นหรือในหม้อน้ำของรถยนต์ควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายประมาณ 2-3 ครั้งต่อปี
ยกเว้นในกรณีที่เป็นสนิมควรเปลี่ยนถ่ายเมื่อตรวจพบ โดยการเปิดก๊อกหม้อน้ำหรือท่อยางที่ก๊อก
หม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำออกเพื่อช่วยให้น้ำถ่ายออกได้เร็วขึ้น
เมื่อถ่ายน้ำหมดแล้วทำการปิดก๊อกแล้วเติมน้ำสะอาดลงไปจนเต็มตามอัตราหรือพิกัดที่บอกไว้
ควรเติมน้ำยากันสนิมลงไปเพื่อรักษาหม้อน้ำด้วย

หากพบว่าท่อยางของท่อน้ำชำรุดควรเปลี่ยนพร้อมกันไปด้วย เมื่อเสร็จแล้วต้องลองติดเครื่อง
เช็กการไหลเวียนของน้ำว่าเป็นไปตามปรกติหรือไม่
ถ้าพบรอยรั่วหรือการรั่วซึมควรให้ช่างทำการแก้ไข

พัดลมและสายพาน
สายพานของพัดลมจะทำหน้าที่หมุนปั๊มน้ำและเป่าลมไปยังหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อน
หากสายพานขาดจะทำให้พัดลมไม่หมุนและน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นจึงควรตรวจสอบสายพานอยู่เสมอ และหากพบว่าเก่าหรือชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจจะไปขาดกลางทางหรือขณะใช้รถอยู่ ถ้าหากพบว่าสายพานขาด
ขณะใช้รถและหม้อน้ำมีความร้อนขึ้นสูง ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเพื่อเติมน้ำอย่างเด็ดขาด

เพราะไอร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมได้ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน
และที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อใช้เปลี่ยน

การตรวจสอบพัดลมและสายพานต้องระวังเรื่องระบบไฟฟ้า เพราะปรกติจะมีสวิตช์อัตโนมัติควบคุมให้พัดลมหมุน
และดับเองเมื่อหม้อน้ำร้อนและเย็น ต้องดับสวิตช์เครื่องยนต์ก่อนทำการตรวจสอบสายพานและพัดลม

ข้อควรระวัง
อย่าใช้สายพานเก่าหรือชำรุดที่ตรวจพบ
อย่าปล่อยให้สายพานตึงหรือหย่อนเกินไป เมื่อตรวจพบควรให้ช่างช่วยแก้ไข
อย่าให้มีน้ำมันหรือสิ่งหล่อลื่นติดสายพาน เพราะจะทำให้ลื่นและหลุดออกหรือขาด
อย่าใช้สายพานผิดขนาด


ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับระบบหล่อเย็น
ถ้าเกจวัดความร้อนขึ้นถึงขัด H หรือสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต้องรีบขับรถเข้าจอดข้างทางอย่าฝืนขับต่อไป

อย่าเปิดหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนเป็นอันขาด
เพราะจะได้รับอันตรายจากไอนี้ที่พุ่งออกมา ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน

อย่าใช้น้ำสกปรกเติมหม้อน้ำ เพราะจะทำให้เกิดการอุดตัน

ถ้าพบว่าน้ำในหม้อน้ำแห้งเร็วผิดปรกติ ต้องตรวจหา รอยรั่วหรืออาการรั่วและให้ช่างรีบแก้ไข

หมั่นสังเกตเกจวัดความร้อนอยู่เสมอขณะขับขี่
ต้องตรวจหารอยรั่วหรืออาการรั่ว และให้ช่างรีบแก้ไข


ความรู้เกี่ยวกับเทอร์โมสตัท (ของระบบหล่อเย็น)
เทอร์โมสตัท ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นวาล์วหรือสวิตช์ทำหน้าที่
เปิด-ปิดน้ำไปหล่อลื่นเครื่องยนต์เมื่อมีความร้อน ถ้าเทอร์โมสตัทชำรุดหรือวาล์วเปิด-ปิด ค้าง
ความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนหรือทำการแก้ไข

ถ้าความร้อนของเครื่องยนต์อุ่นขึ้นหลังจากติดเครื่องทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แสดงว่าเทอร์โมสตัท
เป็นปรกติ แต่ถ้าร้อนขึ้นอย่างช้าๆ แสดงว่าวาล์วเปิดค้าง หรือไม่มีการตัดตามปรกติ

การตรวจสอบหรือแก้ไขเทอร์โมสตัทควรเป็นหน้าที่ของผู้ชำนาญหรือช่าง

ที่มา หนังสือตลาดรถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น