17 กุมภาพันธ์ 2553

เทคนิคการขับรถเมื่อกระจกหน้ารถแตก

เทคนิคการขับรถเมื่อกระจกหน้ารถแตก
จุลสาร ลด หยุด ภัย ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำเดือนกรกฎาคม ยังมีเรื่องน่าสนใจ

เทคนิคการขับรถในสถานการณ์ฉุกเฉิน กระจกหน้ารถแตก
(เผื่อเจอพวกใจเสื่อม คึกคะนองเกินเหตุ มือบอนด้วย ปาหินใส่รถเรา)
ถ้าเป็นกระจกนิรภัยแบบชั้นเดียว หรือแทปเปอร์
เมื่อกระจกแตกจะมีลักษณะละเอียดเป็นเม็ดเล็ก ๆ และแตกร้าวเป็นฝ้าขาวจนมองไม่เห็นเส้นทาง
ชะลอความเร็วแล้วเบี่ยงรถเข้าไหล่ทาง

หากยังมีกระจกบางส่วนติดค้างอยู่ ให้ใช้ไม้หุ้มผ้าหนา ๆ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ทุบ
หรือกระแทกเศษกระจกที่ยังติดอยู่ตามขอบกระจกออก ให้หมด เพื่อป้องกันกระจกร่วงใส่ขณะขับรถ

หากเป็นกระจกนิรภัยแบบหลายชั้น
ซึ่งเป็นการนำกระจก 2 แผ่นมาอัดติดกันโดยมีแผ่นฟิล์มที่เหนียวและแข็งแรงซ้อน
หากมีวัสดุตกใส่กระจกหน้ารถ จะมีเพียงรอยร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น
แต่จะไม่มีเศษกระจกแยกออกจากกัน จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่อยู่ในรถ

กรณีต้องขับรถที่ไม่มีกระจกหน้า ให้ปิดกระจกด้านข้างทุกบาน
เพื่อป้องกันแรงลมปะทะ ทำให้รถเสียการทรงตัว

รวมทั้งผู้ขับขี่ควรสวมแว่นกันแดด
เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเศษกระจกที่อาจติดค้างอยู่บริเวณหน้ารถกระเด็นใส่ นัยน์ตา


รถติดหล่ม
ผู้ขับขี่ไม่ควรเร่งเครื่อง เพราะล้อรถจะทำให้หลุมลึกขึ้น
ให้หาก้อนอิฐ หรือกิ่งไม้มาวางไว้หน้ายางรถ โดยเฉพาะล้อหลัง เพื่อมิให้ล้อบดถนนเป็นหลุมลึกลงไปอีก
จะช่วยให้ยางยึดเกาะจนเคลื่อนออกจากหลุม

กรณีเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ ให้เหยียบเบรกและขึ้นเบรกมือไว้ เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P
สตาร์ตเครื่องโดยที่เท้ายังเหยียบเบรกอยู่ จากนั้นเข้าเกียร์ต่ำหรือเกียร์ถอยหลัง
แล้วค่อย ๆ ผ่อนเท้าที่เหยียบเบรก จนรถเคลื่อนตัวจึงค่อย ๆ เร่งเครื่อง เพื่อให้รถเคลื่อนออกจากหลุม

รถเกียร์ธรรมดา อย่าเหยียบเบรกหรือคลัตช์ ให้เข้าเกียร์ว่างและสตาร์ตเครื่อง
ค่อย ๆ เหยียบคันเร่งจนกว่ารถจะเคลื่อนตัวข้ามสิ่งกีดขวาง

ถ้ายังไปไม่ได้ ให้หารถที่กำลังสูงกว่ามาลากจูง โดยใช้สายเคเบิลลากจูงแบบตรง
และให้รถคันที่ติดหล่มใช้เกียร์ต่ำ ค่อย ๆ เร่งเครื่องตามช้า ๆ จนหลุดจากหล่ม.


ข้อมูล เดลินิวส์


ที่มา :
http://203.155.220.217/dotat/news/2552/8/13/dailynews3-13-8-52.htm
http://article.numsai.com/index.php/variety/3424-2009-08-13-07-51-53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น